ไม่ว่าธุรกิจจะเล็กหรือใหญ่ การมีเซิร์ฟเวอร์เป็นของตนเองช่วยให้คุณสามารถจัดการข้อมูล สำรองข้อมูลของเอกสารสำคัญ และทำงานร่วมกันภายในองค์กรได้อย่างสะดวก การเลือกเซิร์ฟเวอร์ที่เหมาะสมกับขนาดของธุรกิจและแผนการเติบโตในอนาคตนับเป็นการตัดสินใจที่มีความสำคัญ เพราะนอกจากจะช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังสามารถช่วยให้คุณได้ใช้เครื่องมือที่เหมาะกับความต้องการของแต่ช่วงเวลาอีกด้วย
หน้าที่ของเซิร์ฟเวอร์
เซิร์ฟเวอร์เป็นอุปกรณ์หรือโปรแกรม ที่ตอบสนองต่อ “คำขอข้อมูล” ที่มาจากอุปกรณ์หรือโปรแกรมที่อยู่ในเครือข่าย ที่มีชื่อเรียกว่า "ผู้ใช้งาน” (clients) ประสิทธิภาพของเซิร์ฟเวอร์นั้นสูงกว่าคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปมาก เนื่องจากเซิร์ฟเวอร์ต้องการพื้นที่จัดเก็บและหน่วยความจำในการประมวลผลมหาศาล และแทบจะไม่การหยุดทำงาน เนื่องจากมีคำขอ (reqeust) จากผู้ใช้งานที่ส่งเข้ามาเกือบจะตลอดเวลา
เซิร์ฟเวอร์สามารถใช้ในการเก็บสำรองข้อมูล ช่วยในการจัดการทรัพยากรที่มีภายในเครือข่าย และทำให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างสะดวก เซิร์ฟเวอร์อาจมีเพียงหน้าที่เดียว เช่น จัดเก็บเว็บไซต์ จัดการอีเมล หรือแชร์ไฟล์ หรืออาจจะมีหลายหน้าที่ที่ทำพร้อมกันได้ในเป็นรุ่นใหม่ๆ
Hardware server โดยทั่วไปหมายความถึงอุปกรณ์ที่ต้องติดตั้งในสำนักงาน ในขณะที่ software-based server จะใช้บริการ cloud เพื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายผ่านอินเตอร์เน็ต โดยเซิร์ฟเวอร์ที่ทำงานบนบริการ cloud ยังคงมีองค์ประกอบเหมือน hardware server ตรงที่มีอุปกรณ์ใช้งานซึ่งเก็บไว้ในศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ที่ดูแลโดยผู้ให้บริการ และเนื่องจากเป็นการให้บริการโดยพิจารณาใช้ทรัพยากรหรือพื้นที่ตามความเป็นจริง แทนที่จะเป็นการให้บริการเพื่อใช้เครื่องมือหรือชุดอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์นี่เอง จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อว่าเซิร์ฟเวอร์ (virtaul server)
เลือกเซิร์ฟเวอร์อย่างไรให้เหมาะสม
ตัวเลือกในปัจจุบัน คือ in-house hardware server และ cloud-based server ซึ่งคุณยังสามารถเลือกได้อีกว่าต้องการใช้งานเป็น dedicated server หรือ shared server
Dedicated hardware server
เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการแก่คุณเพียงรายเดียว ซึ่งนอกจากคุณจะต้องมีการเตรียมพื้นที่ในการติดตั้งที่สำนักงานแล้ว ยังต้องเตรียมค่าใช้จ่ายล่วงหน้าจำนวนไม่น้อย สำหรับทั้งส่วนของอุปกรณ์และการวางโครงสร้างพื้นฐาน อีกทั้งคุณยังต้องรับผิดชอบในการตั้งค่าของเซิร์ฟเวอร์ด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตามธุรกิจที่เลือกเซิร์ฟเวอร์รูปแบบนี้เพราะมองเห็นความคุ้มค่าในการลงทุนระยะยาว เนื่องจากไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการเช่าพื้นที่เหมือนกับการใช้งาน shared server และคุณยังเป็นฝ่ายควบคุมการใช้งานได้เองโดยไม่ต้องพึ่งพาผู้ให้บริการในการเข้าถึงข้อมูล และอาจไม่จำเป็นต้องใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้งาน server เพราะสามารถสร้าง local area network (LAN) ได้
เนื่องจากความรับผิดชอบในการตรวจสอบข้อมูล การเข้าถึงข้อมูลพนักงาน ข้อมูลของลูกค้า และการทำให้ข้อมูลดังกล่าวปลอดภัย จะตกเป็นหน้าที่ขององค์กร จึงดูเหมือนว่า ตัวเลือกนี้จะเหมาะสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีระบบในการจัดการด้าน IT ที่ดี
Cloud-based shared server
เป็นระบบที่ควบคุมโดยผู้ให้บริการ เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น และไม่ต้องการใช้เงินกับการลงทุนในส่วนนี้มากจนเกินไป คุณจะมีค่าใช้จ่ายเท่ากับจำนวนพื้นที่เก็บข้อมูลและการเข้าถึงที่คุณต้องการหรือได้ใช้งานจริงเท่านั้น ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะสั้นได้อย่างมาก อีกทั้งมีความสะดวกสบายเพราะขั้นตอนการติดตั้งเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการ แม้จะต้องอาศัยอินเทอร์เน็ตเท่านั้นในการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์แต่รูปแบบบริการผ่าน cloud ที่ให้เข้าถึงได้จากทุกที่ ก็ช่วยให้ผู้ที่ต้องใช้งานสามารถทำงานได้แม้จะกำลังเดินทาง
Cloud server มักจะเป็นเป้าหมายหลักของอาชญากรไซเบอร์ สาเหตุเนื่องจากเป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการแก่หลายองค์กรธุรกิจ จึงทำให้มีข้อมูลที่เก็บไว้มากกว่าเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้โดยธุรกิจเดียว ความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูลและความสามารถในการป้องการถูกโจมตีจึงมีความสำคัญอย่างสูง ซึ่งทางผู้บริการต่างก็ได้เตรียมความพร้อมไว้อย่างดี cloud server จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับธุรกิจที่ไม่เชี่ยวชาญในการรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายด้วยตนเอง และยังไม่ตองการที่จะใช้เงินลงทุนด้านนี้ ณ เวลานี้
ปัจจัย 4 ประการ ที่ควรพิจารณาเมื่อเลือกเซิร์ฟเวอร์สำหรับธุรกิจ
1. สมรรถนะ (power)
เซิร์ฟเวอร์แต่ละประเภทมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ยิ่งเครือข่ายมีขนาดใหญ่ก็จะต้องใช้เครื่องที่มีสมรรถนะสูงขึ้น หากเครื่องที่ใช้มีคุณสมบัติที่ต่ำเกินกว่าจะรับมือกับคำขอได้ อาจส่งผลให้การทำงานช้าลงและถึงกับหยุดทำงานได้ในที่สุด
หากเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ผู้ใช้งานที่เชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์มีจำนวนไม่มาก ก็ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องที่มีคุณสมบัติที่สูงจนเกินไป เพราะจะเกิดความไม่คุ้มค่าในการลงทุนกับไปกับสมรรถนะส่วนที่ไม่ได้ใช้งานจริง และในทางกลับกันธุรกิจขนาดใหญ่ควรลงทุนกับคุณสมบัติของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้มากพอจนแน่ใจว่าคำขอทั้งหมดจะได้รับการตอบกลับและการดำเนินงานสามารถเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. สามารถเพิ่มหรือลดได้ (scalability)
เซิร์ฟเวอร์ชนิด cloud-based มีความได้เปรียบในเรื่องความสะดวกเมื่อต้องการเพิ่มหรือลดขนาดของระบบปฎิบัติการ การดำเนินงานสามารถทำได้ง่ายเมื่อเทียบกับ dedicated hardware server ที่คุณต้องจ่ายเงินล่วงหน้าให้กับสมรรถนะที่คุณคาดว่าจะได้ใช้
3. ความปลอดภัย (security)
ในฐานะองค์กรคุณไม่เพียงแต่มีข้อมูลการดำเนินงานของธุรกิจที่ต้องดูแล แต่ยังรวมถึงข้อมูลของพนักงาน คู่ค้าทางธุรกิจ และลูกค้าอีกด้วย ดังนั้นระบบรักษาความปลอดภัยของเซิร์ฟเวอร์จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง
หากคุณไม่มั่นใจในการจัดการความปลอดภัยด้วยตนเองหรือเป็นธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่มีทีมงานเฉพาะ การใช้ cloud-based server จะเป็นตัวเลือกที่ดี เพราะผู้ให้บริการจะร่วมรับผิดชอบในการรักษาข้อมูลให้ปลอดภัย อย่างไรก็ตาม แนะนำให้คุณตรวจสอบประวัติการละเมิดความปลอดภัยของผู้ให้บริการที่คุณสนใจก่อนตัดสินใจเลือก แต่หากคุณมีพนักงานที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี การมี dedicated server ก็ถือเป็นตัวเลือกที่ดี เพราะคุณจะดูแลความปลอดภัยของข้อมูล และควบคุมมาตรการรักษาความปลอดภัยด้วยตนเอง
ไม่ว่าจะเลือกตัวเลือกไหน คุณต้องมั่นใจว่าข้อมูลได้รับการดูแลด้วยโปรแกรมป้องกันไวรัสที่อัพเดตอยู่เสมอ
4. ต้นทุน (Cost)
ต้นทุนเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกเซิร์ฟเวอร์ เพราะทุกธุรกิจมีงบประมาณและความต้องการที่ไม่เหมือนกัน และราคาของเซิร์ฟเวอร์แต่ละประเภทก็แตกต่างกันไป
หากเลือก dedicated server คุณจะไม่มีค่าธรรมเนียมรายเดือน แต่ต้องทำใจกับการจ่ายล่วงหน้าให้กับสมรรถนะของเครื่องที่ยังไม่ได้ใช้ และยังต้องเตรียมค่าจ่ายอีกก้อนเมื่อถึงเวลาที่ต้องการ upgrade server ยังไม่นับรวมถึงค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานเพื่อดูแลในส่วนนี้อีกด้วย กลับกันหากคุณเลือกเซิร์ฟเวอร์แบบ cloud-based ซึ่งดูแลโดยผู้ให้บริการ คุณจะได้รับความสะดวกในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น แต่คุณก็ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายรายเดือนซึ่งอาจจะไม่คุ้มค่าในระยะยาว อีกทั้งเป็นการจ่ายเงินจำนวนมากสำหรับพื้นที่เซิร์ฟเวอร์ที่คุณไม่ได้เป็นเจ้าของ
ระบบปฏิบัติการ (operating systems)
เซิร์ฟเวอร์สามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการต่างๆ ได้หลายหลาก ซึ่งระบบปฎิบัติการที่นิยมมากที่สุด ได้แก่ Windows, Linux และ macOS
Windows เป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับธุรกิจ เนื่องจากองค์กรจำนวนมากเลือกใช้ จึงมีแนวโน้มที่คู่ค้าหรือลูกค้าจะเลือกใช้เหมือนกัน และพนักงานก็คุ้นเคยกับการใช้งานของ Windows Server นอกจากนี้ยังง่ายต่อการติดตั้ง เชื่อมต่อเข้ากับโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ เนื่องจาก Windows Server และ Windows (ชุด Microsoft Office) ทำงานร่วมกันได้อย่างดี
Linux อาจมีราคาถูกกว่า แต่ต้องใช้ความรู้ทางเทคนิคมากกว่า ตั้งแต่การติดตั้ง การดูแลรักษา ไปจนถึงการแก้ไขข้อบกพร่อง อีกทั้งการสนับสนุนให้ความช่วยเหลือในบางเรื่องของ Linux ค่อนข้างจำกัดเมื่อเทียบกับ Microsoft หรือ macOS นอกจากนี้ยังมีความเข้าใจผิดว่า Linux server มีความเสี่ยงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับ server ประเภทอื่น
macOS เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากสำหรับธุรกิจที่ชื่นชอบคุณสมบัติของ Apple เนื่องจากระบบปฏิบัติการมี Stacks สำหรับองค์กรและ Dark Mode สำหรับหน้าจอ นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับ iOS ได้อย่างกลมกลืน ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งหากพนักงานในองค์กรใช้ทั้ง MacBook และ iPhone
Blesssky แนะนำให้คุณทำการประเมินระบบและสภาพแวดล้อมของเครือข่ายในองค์กร ด้วยบริการ IT Health Check ซึ่งไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อเป็นข้อมูลประกอบก่อนการตัดสินใจเลือกเซิร์ฟเวอร์ คลิกเพื่อดูขั้นตอน
อ้างอิงจาก Avast
========================
ติดต่อเราเพื่อสอบถามข้อมูลเบื้องต้นได้ที่ 02-679-8877 หรืออีเมล sales@blesssky.com
Leave a comment!