คุณอาจจะคุ้นเคยกับการซื้อซอฟท์แวร์ของไมโครซอฟท์ไม่ว่าจะเป็นแบบ OEM (ติดตั้งมาพร้อมกับเครื่องใหม่) และแบบ FPP (ซื้อแยกต่างหากแล้วนำมาติดตั้งเอง) ซึ่งในขณะที่ข้อดีคือ ความสะดวกสบายในการติดตั้งและได้มา แต่ทั้งแบบ OEM และ FPP ก็มีข้อจำกัดที่ต้องพิจารณาอยู่เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นการใช้งานในองค์กร
สิทธิ์การใช้งานซอฟต์แวร์ชนิด OEM จะสามารถใช้กับเครื่องใหม่เท่านั้น อาจจะเป็นการซื้อมาติดตั้งบนเครื่องใหม่ หรือติดตั้งมาเสร็จเรียบร้อยหากคุณเลือกซื้อเครื่องจากแบรนด์ต่างๆ แต่จะไม่สามารถซื้อมาติดตั้งกับเครื่องที่ใช้งานอยู่แล้วได้ คุณสามารถดาวน์เกรดไปใช้ซอฟแวร์เวอร์ชันที่ต่ำกว่าได้แต่ไม่สามารถโอนย้ายสิทธิ์ไปให้เครื่องอื่นได้ และ OEM 1 license จะได้รับ 1 product key และคุณสามารถซื้อชนิด FPP เพื่อมาติดตั้งกับเครื่องเก่าหรือใหม่ก็ได้ สามารถเปลี่ยนย้ายเครื่องได้ แต่จะไม่สามารถลดไปใช้ซอฟแวร์เวอร์ชันที่ต่ำกว่าได้
ทั้ง OEM และ FPP มีทั้งข้อดีและข้อจำกัดในตัวเองที่คุณจะต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่าแบบไหนที่เหมาะกับลักษณะการใช้งานของคุณก่อนตัดสินใจ สิ่งที่เป็นข้อจำกัดร่วมกันของทั้ง OEM และ FPP คือไม่สามารถอัพเกรดไปใช้ซอฟแวร์เวอร์ชันที่สูงกว่าได้ ซึ่งแน่นอนว่าในความเป็นจริงเมื่อเวลาผ่านไปซอฟต์แวร์จะได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น และหากคุณตัดสินใจซื้อลิขสิทธิ์แบบ OEM หรือ FPP ไปแล้วนั้น จะไม่มีสิทธิ์ในการอัพเกรดไปใช้ซอฟแวร์เวอร์ชันใหม่ และทางแก้เดียวก็คือต้องซื้อสิทธิ์การใช้งานซอฟต์แวร์ใหม่อีกครั้งเท่านั้น
ตารางนี้จะช่วยให้คุณเห็นภาพเปรียบเทียบได้ง่ายยิ่งขึ้น
MS Windows / MS Office Professional | OEM | FPP |
---|---|---|
Product Key | 1 Product Key 1 เครื่อง | 1 Product Key 1 เครื่อง |
การใช้งาน | เครื่องใหม่ | ได้ทั้งเครื่องใหม่และเก่า |
Media | แผ่น DVD พร้อม COA และ Product Key | กล่องพร้อมแผ่น DVD และ Product Key |
Downgrade | ||
Upgrade | ||
การย้ายเครื่อง | ||
ราคา | ต่ำ | เหมาะกับการใช้งานในครอบครัวและธุรกิจขนาดเล็ก |
ปัญหายุ่งยากในการจัดการสิทธิ์การใช้ซอฟต์แวร์
ลองจินตนาการว่าหากคุณมีการใช้งานคอมพิวเตอร์หลายเครื่องร่วมกับลิขสิทธิ์การใช้ซอฟต์แวร์ ประเภท OEM หรือ FPP ความยุ่งยากที่คุณจะต้องรับมือ ได้แก่
- ต้องเก็บ “ซอง” สำหรับแบบ OEM และเก็บ “กล่อง” สำหรับแบบ FPP ไว้แสดง เมื่อมีการขอตรวจสอบลิขสิทธิ์ หากไม่มีเก็บไว้จะถือว่าไม่มีลิขสิทธิ์ที่ถูกต้องทันที
- หากใช้งานประเภท OEM และต้องการเปลี่ยนไปใช้เครื่องใหม่ ต้องซื้อลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ใหม่เนื่องจากถ่ายโอนระหว่างเครื่องไม่ได้
- หากใช้งานประเภท FPP จะไม่สามารถเปลี่ยนไปใช้ซอฟต์แวร์เวอร์ชั่นต่ำกว่าได้ เนื่องจากดาวน์เกรดไม่ได้
- ไม่สามารถอัพเกรดเมื่อมีซอฟท์แวร์เวอร์ชั่นใหม่ออกมา ทั้งแบบ OEM และ FPP
- Product key ของซอฟท์แวร์แบบ FPP ซึ่งแยกเป็นกล่อง ต้องทำบันทึกประวัติว่ากล่องนี้ใช้กับเครื่องไหน สลับกันไม่ได้ เวลาดำเนินการติดตั้งอาจจะมีความไม่สะดวกในการจัดการ
- ทั้งประเภท OEM และ FPP อนุญาตให้ติดตั้งเพื่อใช้งานภายในองค์กรเท่านั้น (On Premise) ไม่สามารถนำไปติดตั้งบนระบบที่เป็น Cloud ได้ เนื่องจากไม่มี SA (Software Assurance)
- ซอฟต์แวร์บางชนิด ไม่ให้สิทธิ์การใช้งานทั้งแบบที่เป็น OEM และ FPP เช่น Microsoft SQL Server
ทางแก้
หากคุณมีความจำเป็นต้องใช้งานเครื่องจำนวนมาก (ตั้งแต่ 5 เครื่อง ขึ้นไป) และต้องการความสะดวกในการจัดการสิทธิ์การใช้ซอฟแวร์ การเลือกสิทธิ์ประเภท Microsoft Volume Licensing จะสามารถแก้ปัญหาข้างต้นได้ ดังนี้
- การลงทะเบียนซื้อครั้งแรก จะระบุว่าลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์นั้นขายให้กับบริษัทอะไร ที่ตั้งอยู่ที่ไหน คุณจึงไม่ต้องเก็บซองหรือกล่องเพื่อยืนยันสิทธิ์อีกต่อไป อีกทั้งสามารถ Login เข้าระบบผ่านเว็บไซต์ หรือแสดงเอกสารที่ได้จากทาง Microsoft เพื่อยืนยันสิทธิ์การใช้งานเมื่อมีการขอตรวจสอบ
- Product Key ที่ใช้จะเป็นอันเดียวกัน จะติดตั้งเครื่องไหน ก็ใช้ Key เดียวกัน ทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการจัดการ
- สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมที่ใช้ติดตั้งได้จากหน้าเว็บ Volume Licensing
- ได้รับสิทธิ์ดาวน์เกรดเพื่อใช้งานเวอร์ชั่นที่ต่ำกว่า สูงสุดได้ 2 เวอร์ชั่น เช่น วันนี้คุณสั่งซื้อ Microsoft Office 2021 ก็จะได้รับสิทธิ์ใช้งาน Microsoft Office 2019 และ 2016 โดยอัตโนมัติ (เพียงแต่จำนวนการติดตั้งรวม ต้องไม่เกินสิทธิ์ที่ได้ซื้อไว้)
- เมื่อซอฟต์แวร์มีเวอร์ชั่นใหม่ออกมา เราแนะนำให้ทำการอัพเกรดเวอร์ชั่นใช้งานให้เป็นปัจจุบัน เพื่อให้ได้รับ Security Patch Update ป้องกันภัยทางไซเบอร์ ทาง Microsoft มีโปรแกรมที่เรียกว่า SA (Software Assurance) โดยจะขายมาพร้อมกับซอฟท์แวร์ประเภท Volume Licensing มีอายุ 3 ปี ภายในระยะเวลา 3 ปี ดังกล่าว หากซอฟท์แวร์ที่ซื้อมีเวอร์ชั่นใหม่ออกมา คุณสามารถอัพเกรดได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
- กรณีที่คุณซื้อ SA คุณสามารถนำไปติดตั้งใช้งานบนระบบ Cloud ได้
เราเพิ่ม Volume Licensing ลงในตารางก่อนหน้านี้ เพื่อให้คุณเห็นภาพเปรียบเทียบที่ชัดเจน
MS Windows / MS Office Professional | OEM | FPP | Volume Licensing |
---|---|---|---|
Product Key | 1 Product Key 1 เครื่อง | 1 Product Key 1 เครื่อง | หลายเครื่อง |
การใช้งาน | เครื่องใหม่ | ได้ทั้งเครื่องใหม่และเก่า | 5 เครื่องขึ้นไป |
Media | แผ่น DVD พร้อม COA และ Product Key | กล่องพร้อมแผ่น DVA และ Product Key | ดาวน์โหลดจาก VLSC พร้อม Product Key |
Downgrade | |||
Upgrade | |||
การย้ายเครื่อง | ได้ ยกเว้น Windows | ||
ราคา | ต่ำ | เหมาะกับการใช้งานในครอบครัวและธุรกิจขนาดเล็ก | เหมาะกับการใช้งานในองค์กรธุรกิจ สถาบันการศึกษา และมูลนิธิ |
ประเภทของ Microsoft Volume Licensing
เพื่อให้การใช้งานในองค์กรเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น Microsoft จึงได้แบ่งประเภทสิทธิ์การใช้ซอฟต์แวร์ไว้ให้คุณเลือกใช้ได้ ดังนี้
1. Microsoft CSP Perpetual (CSP)
สำหรับสิทธิ์การใช้ซอฟท์แวร์ประเภทแรกนี้นิยมเรียกว่า CSP เป็นชนิดที่ซื้อแล้วใช้ได้ถาวร แต่ไม่สามารถอัพเกรด หรือนำไปใช้บน Cloud ได้ เพราะไม่มี SA การสั่งซื้อขั้นต่ำ คือ 5 license
2. Microsoft Open Value (OV)
ประเภทที่สอง มักจะเรียกกันว่า Open Value หรือ OV กลุ่มนี้จะเป็นซอฟท์แวร์เช่าใช้ มีอายุ 3 ปี มาพร้อมกับ SA สามารถใช้งานภายในองค์กร (On Premise) หรือ ติดตั้งบน Cloud ได้ รวมถึงสามารถอัพเกรดเป็นเวอร์ชั่นใหม่ได้ตลอดตราบเท่าที่คุณยังต่ออายุ SA
3. Microsoft Open License (รุ่นดั้งเดิม ปัจจุบันเลิกจำหน่ายไปเมื่อปลายปี 2021)
โดยสรุป ณ เวลานี้ (เมษายน 2022) สิทธิ์การใช้ซอฟต์แวร์ประเภท Volume Licensing มี 2 ประเภท คือ CSP Perpetual และ Open Value แล้วจะเลือกแบบไหน ถึงจะเหมาะ?
มาดูแนวทางการเลือกง่ายๆ ด้วยการตอบคำถาม 2 ข้อ ดังนี้
ซอฟท์แวร์ที่คุณซื้อต้องติดตั้งบน Cloud หรือไม่?
คำตอบ ถ้าคำตอบคือใช่ Open Value คือสิ่งที่คุณต้องการ
คุณต้องการอัพเกรดซอฟต์แวร์เมื่อมีเวอร์ชั่นใหม่หรือไม่?
คำตอบ ยกตัวอย่างเช่น ณ เวลานี้ Windows เวอร์ชันล่าสุดคือ Windows 11 และส่วน Office ล่าสุดคือ Office2021 หากในองค์กรของคุณยังคงใช้งาน Windows7 กับ Office2010 และคุณเองก็มีความต้องการที่จะอัพเกรดซอฟต์แวร์เพื่อใช้เวอร์ชันปัจจุบัน ในกรณีนี้ CSP คือสิ่งที่คุณต้องการ
สิ่งที่คุณอาจจะยังไม่รู้คือ คุณไม่จำเป็นต้องซื้อซอฟท์แวร์ทุกตัวเป็น Open Value หรือ CSP สามารถเลือกได้ว่า กลุ่มนี้ต้องการใช้เป็นแบบ Open Value ส่วนกลุ่มนี้ใช้เป็นแบบ CSP ขึ้นอยู่ตามความเหมาะสมและแผนการใช้งานขององค์กร หากต้องการคำปรึกษา Blesssky Connexion ยินดีให้คำแนะนำ ติดต่อเราได้ที่ 02-679-8877 หรือ sales@blesssky.com ก่อนจะตัดสินใจ เรามั่นใจว่าจะสามารถใช้ให้คุณตัดสินใจได้ง่าย และประหยัดต้นทุนได้แน่นอน
FAQ
Microsoft Volume Licensing มีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต้องพิจารณาก่อนตัดสินใจ จึงมีคำถามจากผู้ที่ต้องการใช้บริการจำนวนมาก เราขอแถมท้ายบทความนี้ด้วยการรวบรวมคำถามที่พบเจอบ่อยไว้ดังนี้
การซื้อ Volume Licensing มีจำนวนขั้นต่ำ หรือไม่?
คำตอบ สั่งซื้อขั้นต่ำอยู่ที่ 5 license โดยสามารถซื้อซอฟต์แวร์หลายๆ ชนิดรวมกันได้
ต้องซื้อ Software Assurance (SA) เมื่อไหร่
คำตอบ ซื้อครั้งแรกพร้อมกับซอฟท์แวร์ เมื่อครบอายุการใช้งาน 3 ปี สามารถซื้อทำการต่ออายุเฉพาะ SA ได้ ครั้งละ 3 ปี
ปัจจุบันใช้งาน Windows ที่ไม่มีลิขสิทธิ์ หากต้องการทำให้ถูกลิขสิทธิ์ด้วยการซื้อ Volume Licensing ต้องทำอย่างไร
คำตอบ ซื้อลิขสิทธิ์ Windows GGWA (Get Genuine Windows Advantage) โดยใช้ จำนวนเท่ากับจำนวนเครื่องที่ใช้งาน
ลิขสิทธิ์ประเภท Open License ย้ายเครื่องได้ทุกตัวเลยหรือไม่
คำตอบ ไม่ทุกตัว ยกเว้น Windows GGWA
ฝากความคิดเห็น